ทฤษฏีสี
เราจะเริ่มเรียนทฤษฏีสีได้อย่างไร
โดยปรกติแล้ว ทุกคนโดยทั่ว ๆ ไป ต่างก็รู้จักสีด้วยกันทั้งนั้น และทุกคนก็สามาถบอกได้ว่า สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีฟ้า สีดำ สีขาว และสีอื่น ๆ ฯลฯ แต่ก็เป็นเพียงได้รู้จักสี และเรียกชื่อสีที่ถูกต้องให้เป็นสัญลักษณ์เฉพาะ ตัวเท่านั้น จะมีสักกี่คนที่จะรู้จักสีได้ลึกซึ้ง ถ้าจะคิดเฉลี่ยแล้ว อาจจะมีผู้รู้เพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เป็นเพราะ เรายังไม่มีตำราเรียนกันนั่นเอง จนถึงปัจจุบันนี้วงการศึกษายังมองข้ามหลักวิชา ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ประจำวันนี้อยู่ และผู้เขียนเองก็ได้ตระหนักดีว่า เด็กไทยยังขาดความรู้เรื่องสี จึงได้ตัดสินใจเขียนตำราเล่มนี้ ขึ้น เพื่อเป็นทฤษฎีสีสำหรับใช้ศึกษาเรื่องสีเบื้องต้น และผู้เขียนตั้งใจจะให้เป็นตำราชี้แนวทางการศึกษาเรื่องสีให้ ถูกต้อง และเป็นตำราเล่มแรกที่พิมพ์สีทั้งเล่ม
ต่อไปเราจะเริ่มต้นเรียนรู้เรื่องความเป็นมาของต้นกำเนิดของ "ทฤษฎีสี" ซึ่งเป็นหลักวิชาได้ศึกษากันต่อ ๆ มา
3 เหลี่ยมสี TriaangcI Princries

ภาพเขียนที่ใช้ชุดที่ 2 Secondaries

3 เหลี่ยมสี Tridteries

สีกลาง Muddy Colour

สีใกล้เคียง Ncar Colour ที่เป็นวรรณะ แนวทางที่ 1

สีใกล้เคียง Near Colour
ภาพที่เขียนด้วยสีคู่ใกล้เคียง แนวทางที่ 1
ภาพเขียนที่ใช้สีใกล้เคียงข้ามสเต็ป แนวทางที่ 2
สีใกล้เคียงข้ามสเต็ป แนวทางที่ 3
สีใกล้เคียงแนวทางที่ 3 เกิดจากการจัดสีที่เป็นคู่แบบเว้นช่วง หรือข้ามสเต็ป ดังตัวอย่างต่อไปนี้
สีตรงข้าม Oposit Colour
สีตรงข้ามมีทั้งหมด 5 แนวด้วยกัน และชุดสีต่อไปนนี้ เป็นแนวทางที่1 คือสีตรงข้าม ระหว่างสีขั้นที่ 1 กับสีขั้นที่ 2 (Primeries กับ Secondaries) ได้แก่ P1 - S7, P5-S11, และ P9 S3
การเขียนภาพด้วยชุดวรรณะสี ชุดที่ 1 วรรณะเหลือง-แดง
สังเกตสีที่ลงในภาพจะมีทั้งหมด 5 สีด้วยกัน นี่ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งในการเลือกใช้สีชุดเขียนภาพ
การเขียนภาพด้วยชุดวรรณะสี ชุดที่ 2 วรรณะแดง-ฟ้า
ภาพเขียนที่ใช้สีชุดของวรรณะสี แดง-ฟ้า ในภาพจะเห็นว่าสีต่างๆ มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ไม่มีความขัดแย้ง ขัดต่อความรู้สึก
การเขียนภาพด้วยชุดวรรณะสี ชุดที่ 1 วรรณะเหลือง-ฟ้า

ภาพเขียนที่ใช้สีชุดของวรรณะสี ในภาพจะเห็นสีต่างๆมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
การหาค่าของสีแดงสีเดียว
ภาพเขียนที่ใช้ชุดค่าขิงสีแดงคือการนำเอาสีใดสีหนึ่ง มาหาค่อต่างกันให้เป็นขั้นหลายสเต็ป ในที่นี้จะแสดงหาค่าต่างให้ เกิดขึ้นเพียง 5 ขั้น ต่อสี 1 สี วิธีการ ถ้าเป็นสีน้ำ ก็ใช้น้ำผสมลดค่าสีให้อ่อนลง ทีละขั้น จากแก่มาอ่อน ถ้าเป็นสีโปสเตอร์ก็ใช้สีขาวมาผสมก
การหาค่าของสีเหลืองสีเดียว

ภาพที่ใช้เขียนชุดค่าของสีเหลือง
การหาค่าของสีฟ้าสีเดียว
นี่ก็เป็นอีกแบบหนึ่งที่เขียนภาพด้วยสีชุดค่าของสีเดียว
ตระกูลของสี สีได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ตระกูลด้วยกัน และมีวิธีสร้าง Colour Famiries ตระกูลของสีได้ 2 วิธีด้วยกัน
ตระกูลสีเหลืองYellow Famiries วิธีที่ 1 แดง 25% ฟ้า25 % เหลือง 50% จะได้เป็นสีเปลือกมะนาวแห้ง
ตระกูลสีแดง จะมีสีเหลือง 25% ฟ้า 25% แดง 50% ผสมกัน ก็จะได้สีใหม่ขึ้นมาเป็นสีเปลือกละมุด
และวิธีที่ 2 แดง 50% เขียว 50% ก็จะได้สีเปลือกละมุดเช่นเดียวกัน
ตระกูลสีฟ้า ในวิธีที่ 1 จะมีสีเหลือง 25% แดง 25% ฟ้า 50% เมื่อผสมกันเข้า ก็จะได้สีใหม่ขึ้นมา คือ สีโอลีฟ ลักษณะสีฟ้าอมเขียว มีแดง เจือปนเล็กน้อย
วิธีที่ 2 ฟ้า 50% ส้ม 50% ผสมกันจะได้สีโอลีฟ
การฆ่าสี Brake Colour การฆ่าสีคือการเปลี่ยนค่าของสีให้เป็นอีกลักษณะหนึ่ง และหยุดความสดใสของสี วิธีฆ่าสี ก็คล้ายกับการหาค่าของสี มีข้อแตกต่างก็ตรงที่ว่า การหาค่าของสีนั้นใช้เพียงสีเดียว แต่การฆ่าใช้สี 2 สี หาค่ารวมกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้



สีตัดกัน Contras สีตัดกันที่ดีคือ ขาวกับดำ
สีตัดกัน คือสีที่มีความเข้มรุนแรงและโดดเด่นต่างกัน การตัดกันของสีที่มีอยู่หลายทางด้วยกัน อย่างเช่น ตัดกันด้วยสีตรงข้าม ตัดกันด้วยสี Primerics ต่อ Primeries หรือ Secondaries กับ Primeries สีตัดกันที่ดีต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ความกลมกลืนของสี Hamonies ความกลมกลืนของสีเกิดขึ้นได้หลายแนวทางด้วยกัน แต่ละแนวทางนั้นต้องเป็นลักษณะเฉพาะตัว เฉพาะกลุ่ม ยกตัวอย่างเช่น
1. ความกลมกลืนของสีวรรณเดียวกัน 2. ความกลมกลืนของสีตรงกันข้าม

3. ความกลมกลืนของสีใกล้เคียง 4. ความกลมกลืนของสีองค์ประกอบ

5. ความกลมกลืนของสีต่างวรรณะ 6. ความกลมกลืนของสีตัดกัน
